เว็บเพจ กศน.ตำบล
ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป
ข้อมูลทั่วไปของ ตำบลโพนงาม
ประวัติตำบลโพนงามนั้นผู้รู้ได้บอกเล่าว่าเกิดจากการอพยพย้ายถิ่นฐานอันเนื่องมาจากการลี้ภัยทางสงครามจากชายแดนประเทศจีนซึ่งมีอาณาเขตติดกับประเทศลาวซึ่งในสมันนั้นเกิดศึกฮ้อศึกกระทอ จึงเกิดการอพยพหนีภัยสงครามลงมาเรื่อยๆ นำโดยกลุ่มบุคคลหนึ่งซึ่งประกอบด้วย
1. พ่อเฒ่าไชยะราช
2. พ่อเฒ่าไชยะสาน
3. ครอบครัวนางใหญ่
4. ครอบครัวนางสุชาดา
ทั้ง 4 ครอบครัวได้อพยพถอยล้นหนีไปอยู่เมืองวังอ่างคำ แต่ก็ไม่สามารถตั้งถิ่นฐานอยู่ได้นานก็ได้อพยพมาอยู่ที่บ้านหนองเดิ่นริมแม่น้ำโขงประเทศลาวแต่แล้วก็เกิดศึกสงครามขึ้นอีกกลุ่มผู้นำจึงตัดสินใจอพยพข้ามแม่น้ำโขงมาสู้ฝั่งประเทศไทยมาตั้งบ้านอยู่ที่บ้านโพนทาซึ่งงในปัจจุบันคือบ้านหนองสระพัง หมู่ 6 แต่เนื่องจากลักษณะที่ตั้งหรือลักษณะของพื้นที่มีขนาดเล็กไม่เหมาะสมต่อการขยายหมู่บ้านหรือครัวเรือน ดังนั้นจึงมีกลุ่มบุคคลหนึ่งซึ่งไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นใครได้แยกครัวเรือนออกมาเพื่อที่จะไปตั้งหมู่บ้านใหม่ซึ่งไม่ไกลกันนักและได้ตั้งชื่อบ้านว่าบ้านโพนงามจนถึงในปัจจุบัน
ตำบลโพนงาม เดิมเป็นบ้านโพนงามของตำบลบ้านเหล่า ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งตำบลบ้านค้อ ในปี พ.ศ.2475 บ้านโพนงามจึงขึ้นต่อตำบลบ้านค้อ ต่อมาปี พ.ศ.2512 ได้แยกจัดตั้งเป็นตำบลโพนงาม ปัจจุบันเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอคำชะอี
ข้อมูลทางกายภาพ
ที่ตั้งและอาณาเขต
ที่ตั้งตำบลโพนงามตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอคำชะอี อยู่ห่างจาก
อำเภอคำชะอี ระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดมุกดาหารระยะทางประมาณ 38 กิโลเมตร
สภาพภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศทั่วไปเป็นที่ราบติดเชิงเขา มีภูเขาทางด้านทิศเหนือจรดทิศตะวันตกของตำบล ทางทิศตะวันออกและทิศใต้จะเป็นที่ดอนและที่ราบลุ่มลำห้วย หนองน้ำธรรมชาติ โดยเฉลี่ยสูงจากระดับน้ำทะเลโดยประมาณ 202 เมตร
สภาพพื้นที่ป่าไม้
สภาพป่าไม้ส่วนใหญ่อยู่บนภูเขา ซึ่งหลังเขาจะมีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบ
มีลำห้วย ลักษณะป่าเป็นป่าไม้เบญจพรรณ มีต้นไผ่ขึ้นสลับ บางส่วนได้ถูกเกษตรกรบุกรุก จับจองทำไร่มันสำปะหลัง ซึ่งอยู่ในเขตหมู่ที่ 1, 2, 4, 9, 10 ตำบลโพนงามมีพื้นที่ป่าไม้และภูเขาจำนวน14, 687 ไร่
อุณหภูมิ
ตำบลโพนงามมีสภาพพื้นที่ราบเชิงเขาและมีภูเขาสูง ทำให้อากาศแปรปรวนบางช่วงมีอากาศร้อนจัด ในฤดูหนาวอากาศหนาว อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 14-40 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 65– 80 % เหมือนกับจังหวัดอื่น ๆ ของภาคะวันออกเฉียงเหนือทั่วไป
แหล่งน้ำและปริมาณในรอบปี ปริมาณน้ำฝน
แหล่งน้ำธรรมชาติ
ก. ลำห้วยมีทั้งหมด 7 แห่ง
- ห้วยย่อง มีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร มีพื้นที่เก็บน้ำประมาณ 2 ไร่
- ห้วยขาแผ่ มีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร มีพื้นที่เก็บน้ำประมาณ 2 ไร่
- ห้วยยาง มีความยาวประมาณ 4 กิโลเมตร มีพื้นที่เก็บน้ำประมาณ 3 ไร่
- ห้วยกุดจิก มีความยาวประมาณ 1 กิโลเมตร มีพื้นที่เก็บน้ำประมาณ 1 ไร่
- ห้วยใหญ่ มีความยาวประมาณ 1 กิโลเมตร มีพื้นที่เก็บน้ำประมาณ 1 ไร่
- ห้วยบักตู้ มีความยาวประมาณ 1 กิโลเมตร มีพื้นที่เก็บน้ำประมาณ 1 ไร่
- ห้วยเลา มีความยาวประมาณ 5 กิโลเมตร มีพื้นที่เก็บน้ำประมาณ 4 ไร่
ข. หนองน้ำ มีจำนวน 4 แห่ง
- หนองสระพังทองใหญ่ ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 มีพื้นที่ประมาณ 9 ไร่
- หนองสระพังทองน้อย ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 มีพื้นที่ประมาณ 1 ไร่
- หนองดินแดง ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 มีพื้นที่ประมาณ 1 ไร่
- หนองอนามัย ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 มีพื้นที่ประมาณ 1 ไร่
เส้นทางคมนาคม
ตำบลโพนงามมีเส้นทางคมนาคมที่สามารถเดินทางได้สะดวกระหว่างจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้านดังนี
- ถนนสายอำเภอคำชะอี ถึงบ้านดอนป่าแคน ระยะทาง 14 กิโลเมตร เป็นถนนลาดยาง
- ถนนเชื่อมทางหลวงแผ่นดินสายคำชะอี – มุกดาหาร โดยแยกที่บ้านหนองเอี่ยน ตำบลหนองเอี่ยน อำเภอคำชะอี เป็นถนนลาดยางผ่านบ้านหัวขัวตำบลหนองเอี่ยน เป็นถนนลาดยางทั้งหมด ระยะทางจากบ้านหนองเอี่ยนถึงบ้านโพนงาม ระยะทาง 6 กิโลเมตร
- ถนนสายบ้านหนองไผ่ ตำบลผึ่งแดด อำเภอเมือง ผ่านบ้านแฝก หมู่ที่ 10ถึงบ้านโพนงาม ระยะทาง 5 กิโลเมตร เป็นถนนลาดยาง
ข้อมูลสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ
- โรงเรียน 5 แห่ง
- สำนักสงฆ์ 3 แห่ง
- วัด 5 แห่ง
- ห้องสมุดประชาชน 1 แห่ง
- สถานีอนามัย 2 แห่ง
- ที่ทำการ อบต 1 แห่ง
- ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 5 แห่ง
- ฉางข้าวประจำหมู่บ้านขนาด 10 ตัน 5 แห่ง
- อาคารตลาดสด 1 หลัง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 หลัง
- ร้านค้าสหกรณ์ 2 แห่ง
ข้อมูลอาชีพของตำบล
การประกอบอาชีพของชุมชนตำบลโพนงาม ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร คือ การทำนาเป็นอาชีพหลัก อาชีพรองทำไร่ และไปรับจ้างเป็นแรงงานในตัวจังหวัดหรือนอกเขตจังหวัด ในพื้นที่หัวไร่ปลายนาเป็นที่ดอนปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชไร่จะปลูกมากที่บริเวณภูเขา การเลี้ยงสัตว์ใหญ่ เช่น โค กระบือ จะเลี้ยงไว้จำหน่ายและใช้แรงงานบางส่วน บริเวณบ้านพักที่อยู่อาศัยเลี้ยงสัตว์ปีกเพื่อบริโภคในครัวเรือนเหลือก็จำหน่ายในท้องถิ่นและตลาดใกล้เคียงพันธุ์พืชปัจจุบันหันมาใช้พันธุ์ที่ทางราชการส่งเสริมกันมากขึ้น และมีการใช้เทคโนโลยีการผลิตมากขึ้น เช่น การใส่ปุ๋ยเคมี การใช้เครื่องจักรกลการเกษตรแทนแรงงานสัตว์เพิ่มขึ้น มีเกษตรกรบางส่วนนำของป่ามาจำหน่ายตามฤดูกาลเป็นการเสริมรายได้ การประกอบอาชีพทางการเกษตรหัวหน้าครอบครัวเป็นผู้ตัดสินใจในการกำหนดกิจกรรมในการผลิต การผลิตจะเน้นการบริโภคในครัวเรือนให้เพียงพอที่เหลือก็จำหน่ายเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง
- การทำนา เป็นการทำนาอย่างเดียว มีบางส่วนหลังฤดูการเก็บเกี่ยวก็ปลูกพืชฤดูแล้ง ส่วนใหญ่อยู่ที่หมู่ที่ 6, 9 การทำนายังต้องอาศัยน้ำฝนอย่างเดียว เป็นการปลูกเพื่อบริโภคในครัวเรือนเมื่อเหลือก็จำหน่าย
- พืชไร่ จะปลูกมากที่บริเวณหลังเขาทางทิศเหนือของตำบล พืชที่ปลูกได้แก่มันสำปะหลัง ฝ้าย ข้าวไร่ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกษตรกรบุกรุกตัดไม้ทำลายป่ามากขึ้น
- ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น ส่วนใหญ่จะปลูกมะม่วงแก้ว ปลูกแบบสวนหลังบ้านปลูกตามหัวไร่ปลายนาปลูกไว้เพื่อบริโภคและจำหน่ายตามฤดูกาล เช่น มะม่วงแก้ว มีการปลูกไม้กระถินเทพาและยางพาราบางส่วน
- พืชผัก ปลูกเพื่อการบริโภคในครัวเรือนและมีการปลูกพืชฤดูแล้งเพื่อการจำหน่าย เช่น แตงกวา ข้าวโพดหวาน พริก และพืชผักต่าง ๆ
- การเลี้ยงโค กระบือ มีการเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติในฤดูแล้ง หรือต้อนไปเลี้ยงที่บริเวณเทือกเขาหรือบนภูเขา การปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ยังมีน้อย เนื่องจากขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ขาดแหล่งน้ำในการเพาะปลูก ปัจจุบันจะมีการเลี้ยงโคพันธุ์พื้นเมืองมากกว่ากระบือ โคลูกผสมมีการเลี้ยงแต่ถือว่าน้อยกว่า
- การเลี้ยงสุกร สุกรพันธุ์ เช่น แลนเรซ ลาร์ทไวท์ แต่การเลี้ยงยังไม่แพร่หลายจะกระจายอยู่เฉพาะเกษตรกรที่มีฐานะดีเท่านั้น
- การเลี้ยงสัตว์ปีก มีการเลี้ยงแบบปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติ ขาดการดูแลเอาใจใส่เท่าใดนัก เลี้ยงในบริเวณบ้าน หัวไร่ปลายนา เกษตรกรยังขาดความรู้ในการป้องกันกำจัดโรคและมีการเลี้ยงเพื่อการบริโภคและจำหน่ายบางส่วน
ประวัติความเป็นมาบ้านโพนงาม
บ้านโพนงาม มีบุคคลกลุ่มหนึ่งได้อพยพเคลื่อนย้ายมาจากเมืองวังอ่างคำ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อ ปี พ.ศ. 2340 ก่อนเป็นหมู่ที่ 4 ขึ้นต่อตำบลบ้านค้อ เมื่อ ปี พ.ศ. 2512 ได้ขอแยกตัวมาเป็นตำบลโพนงาม หมู่1,2
รายละเอียดตัวบุคคลที่มีการเคลื่อนย้าย
1. พ่อเฒ่าคำจันทร์ วงศ์ตาหล้าพร้อมครอบครัว
2. นายท้าว พร้อมครอบครัว
3. นางใหญ่ พร้อมครอบครัว
ได้อพยพข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งบ้านอยู่ชื่อบ้านโพนทา คือบ้านหนองสระพังทองปัจจุบัน อยู่มานานประชากรเพิ่มขึ้นมาก ที่ดินที่ตั้งหมู่บ้านเดิมคับแคบ ประชากรกลุ่มหนึ่งเลยแยกตัวออกไปตั้งบ้านใหม่ ซึ่งไม่ไกลจากที่เดิมมากนักและตั้งชื่อใหม่บ้านว่า “บ้านนางาม” เพื่อความคล้องจอง บ้านโพนทา-บ้านนางาม จึงตัดออกสองพยางค์ คือทากับนาและนำมาสนธิเข้ากันเป็น “บ้านโพนงาม” ในปัจจุบัน
บ้านโพนงามเป็นที่ตั้งของตำบลโพนงาม สังกัด องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม บริหารงานโดยกำนัน ประมวล สุขรี่ ปกครองประจำหมู่ที่ 2 ด้วยและนายนลิน ศรีเฉลียว ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1
ที่ตั้ง / อาณาเขต
ทิศเหนือ จดเขตตำบลหนองแคน อำเภอดงหลวง
ทิศใต้ จดเขตตำบลบ้านค้อ อำเภอคำชะอี
ทิศตะวันออก จดเขตบ้านหนองสระพังทอง
ทิศตะวันตก จดเขตบ้านตูมหวาน
ประวัติความเป็นมาบ้านหนองสระพังทอง
เมื่อประมาณเกือบ 300 ปี ผ่านมา ได้มีราษฎรอพยพมาจากเมืองคำเกิด คำม่วน ประเทศลาวมาตั้งหลักแหล่งทำมาหากินใกล้บริเวณหนองน้ำธรรมชาติ ซึ่งมีความอุดมสมบรูณ์ (อยู่บริเวณทิศใต้ของหมู่บ้านในปัจจุบัน) ระยะเริ่มก่อตั้งหมู่บ้านมีประชากร ราว 10 ครอบครัว เรียกชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านโพนทา” ต่อมาราษฎรในหมู่บ้านได้ทำการบุกเบิกแผ้วถางจนเป็นไร่นาที่ทำกิน และขยายครอบครัวมากขึ้นเรื่อยๆมีครั้งหนึ่งชาวบ้านพากันไปหาปลา(ไปฟันปลา) ปรากฏว่าเกิดเหตุพลาดฟันถูกเข่าเพื่อนบ้านที่ไปด้วยกัน จึงพากันเรียกชื่อหนองน้ำธรรมชาตินั้นว่า “หนองหัวเข่า” หนองหัวเข่าจึงเป็นเรื่องที่เล่าติดปากกันมาเรื่อยและผู้ปกครองหมู่บ้านจึงเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านหนองหัวเข่า” มาตลอดจากนั้นหมู่บ้านนี้ได้พัฒนามาโดยลำดับผู้ใหญ่บ้านคนแรก คือ พ่อใหญ่อินทวงศ์ ได้พาชาวบ้านพัฒนาจนปรากฎว่ามีประชากรเพิ่มจำนวนขึ้นหลายครอบครัว จึงมีการขยายอาณาเขตของหมู่บ้านไปทางทิศเหนือ ซึ่งมีหนองน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่หนองน้ำแห่งนี้เป็นที่ทำมาหากินในเวลาต่อมา และยังเป็นที่หลบฟังข่าวคราวของข้าศึกในสมัยศึกฮ้อศึกกระทอ ของเมืองเปงจานที่อยู่ทางทิศตะวันออกของหนองน้ำประมาณ 2 กิโลเมตร (ปัจจุบันพบเศษอิฐเศษไหโบราณ และกระดูกชาวเมืองเปงจาน) ประกอบกับนายร้อยวัว นายร้อยควาย นำวัว ควาย ผ่านมาพักอาศัยค้างคืนเป็นเหตุให้หนองน้ำพังตื้นเขิน ชาวบ้าน จึงเรียกชื่อหนองนี้ว่า “หนองสะพัง” หรือหนองพัง
ต่อมาหนองหัวเข่าได้ถูกชาวบ้านพัฒนาเป็นที่ทำกินไม่เหลือสภาพของหนองน้ำอย่างเดิมชาวบ้านจึงพากันไปหาที่ทำกินที่หนองพังแทน ชื่อของหนองพังจึงคุ้นหูชาวบ้านตอดจนบ้านใกล้เคียงก็รู้จักหนองพังกันดี ในที่สุดผู้ปกครองหมู่บ้านและชาวบ้านจึงเรียกชื่อหมู่บ้านใหม่ว่า “บ้านหนองสะพัง” ตั้งแต่นั้นมา
เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2517 อาจารย์ โก่ง แก้วศรีนวม ในสมัยนั้นดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านหนองสระพังทอง มีแนวคิดที่จะเพิ่มชื่อหมู่บ้านใหม่ว่า “บ้านหนองสระพังทอง” โดยมีคำว่า “ทอง” มาต่อท้ายเพราะเหตุว่าบริเวณหนองพังเป็นที่อยู่ของขอมปลักมาก่อน เมื่อเกิดศึกฮ้อ ศึกกระทอ พวกขอมปลักได้ฝังสมบัติจำพวกที่หล่อด้วยสัมฤทธิ์ไว้หลายชิ้น (ชาวบ้านขุดพบ ประมาณ 5-6 ชิ้น) เมื่ออาจารย์ โก่ง แก้วศรีนวม นำไปปรึกษาชาวบ้านต่างก็เห็นด้วย จึงเปลี่ยนชื่อโรงเรียนก่อนเป็นโรงเรียนบ้านหนองสระพังทอง และบ้านหนองสระพังทอง มาจนถึงปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2520 บ้านหนองสระพังทองได้ขยายการปกครองเป็น 2 หมู่ คือ หมู่ 6,9 โดยมี นาย เลือน รูปคม กับ นาย อิ่ง รูปคม เป็นผู้ใหญ่บ้านในขณะนั้น
ประวัติหมูบ้านบ้านแฝก
สมัย 200 กว่าปีจนถึงปัจจุบัน ผู้ที่มาตั้งบ้านคนแรกมี 2 พวก พวกที่ 1 มาจากเมืองร้อยเอ็ด มีชื่อว่านายดี ปัญญาบุตร พวกที่ 2 มาจากเมืองวังอ่างคำ ประเทศลาว ก่อนที่จะอยู่ในถิ่นนี้เห็นว่าที่บริเวณถิ่นนี้เป็นหนองน้ำมีหญ้าแฝกล้อมรอบอุดมสมบูรณ์ ตอนนั้นยังเป็นห่าเป็นดงเต็มไปหมด พวกนายดี ปัญญาบุตรจึงได้อพยพครอบครัวมาตั้งหลักฐาน หลังจากนั้นมีนายชา คล่องดี มาตั้งกระท่อมขึ้นเป็นพวกที่สอง จึงได้ชื่อว่าบ้านแฝกต่อมาได้เพิ่มครอบครัวขึ้นหลายหลังคาเรือนทุกปี ทางเจ้าหน้าที่บ้านเมืองเห็นสมควรจึงได้ตั้ง
ผู้ปกครองหมู่บ้านขึ้นมา คนแรกคือ ผู้ใหญ่เพีย ปัญญาบุตร ประมาณ 200 ปีในสมัยนั้น คนที่ 2 คือผู้ใหญ่นาค ปัญญาบุตร คนที่ 3 คือ นายทอง ปัญญาบุตร คนที่ 4 คือนายทอง ศรีวิลัย คนที่ 5 คือนายกว้าง ปัญญาบุตร คนที่ 6 คือนายวาน เสนาพันธ์ คนที่7 คือนายเกียน รูปคม คนที่8 คือนายบุดดี เมืองโคตรคนที่9 คือนายราตรี คล่องดี
ในปี พ.ศ. 2535 บ้านแฝกได้แยกออกเป็นหมู่บ้าน คือเดิมหมู่ที่7 แยกออกเป็น หมู่ที่ 10 ผู้ใหญ่คนปัจจุบัน คือ นายสันติ สุพร ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่จนถึงปัจจุบัน หมู่ที่ 7 คนปัจจุบันนี้ คือ ด.ต. จิตติ ดรหมั่น
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ จด บ้านภูห้วยแคน
ทิศใต้ จด บ้านแข้
ทิศตะวันออก จด บ้านหนองไผ่บ้านนาคำ
ทิศตะวันตก จด บ้านหนองสระพังทอง
การคมนาคม
ใช้ถนนเส้นทาง รพช. ลาดยางเป็นระยะ สลับกับถนนลูกรัง จดกับทางหลวงแผ่นดินสายกาฬสินธุ์ที่บ้านหนองเอี่ยนทุ่งสถานที่ สำคัญทางศาสนาวัดประจำหมู่บ้าน “วัดศรีจอมมณี”ประเพณีสำคัญชาวบ้าแฝกยึดถือประเพณีวัฒนธรรมเหมือนชาวไทยอีสานทั่วๆไป
ประวัติความเป็นมาบ้านตูมหวาน
ประมาณปี 2,380 ได้เกิดสงคราม (ศึกฮ้อศึกกระทอ) ขึ้นที่ประเทศลาว พ่อท้าว นาชาดา พ่อเฒ่าไชยสาน นางใหญ่ ท้าววงศ์คำจันทร์ นางน้อย จึงได้พาครบครัวและบริวารอพยพหนีภัยสงคราม จากเมืองวัง ประเทศลาวข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานที่ประเทศไทยบริเวณบ้านโพนทา (บ้านหนองสระพัง) และและบ้านนางาม (บ้านโพนงาม) จากนั้นได้มีญาติพี่น้องจากฝั่งประเทศลาวอพยพตามเข้ามาอีกเป็นจำนวนมาก จึงมีความต้องการที่จะแสวงหาที่อยู่อาศัยใหม่ จากการออกล่าสัตว์ หากลอย หาหวายมาใช้เป็นอาหารจึงได้มาพบพื้นที่แห่งหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตก ของบ้านนางาม เห็นว่าเป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การเพาะปลูก เนื่องจากดินมีความอุดมสมบรูณ์มีแอ่งแห่งนี้ ซึ่งคนสมัยนั้นเรียกว่า กุด ที่ราบ เหมาะแก่การทำไร่ทำนา ดังนั้นเวลาล่วงมาประมาณปี 2382 พ่อเฒ่าอุปรี พ่อเฒ่าพา ตาจ่า ตาหมี (ไม่ทารบนามสกุล) ได้นำครอบครัวและลูกหลานประมาณสิบครอบครัว มาตั้งบ้านขึ้นใหม่ บนเนินดินกุด เรียกว่าบ้านนาโนน (ปัจจุบันอยู่ทางทิศเหนือของบ้านตูมหวาน ห่างประมาณ 1 กิโลเมตร) พื้นที่โดยทั่วไปเป็นป่ารกทึบและยังมีต้นมะตูมขึ้นประปนเป็นจำนวนมาก เป็นมะตูมที่มีรสหวานเป็นพิเศษ การเข้ามาอยู่ ครั้งแรกผู้เฒ่าของหมู่บ้านได้ทำพิธีเส้นสรวง “ผีเจ้าที่” เพื่อบอกกล่าวเสี่ยงทาย (จากคำบอกเล่าของหลวงตาสอน วัดโพธิ์ทอง) เล่าว่า ผู้เฒ่าในหมู่บ้านได้ทำพิธีโดยการปักไม้อันหนึ่งลงการพื้นดินแล้วเอาข้าวสารกองไว้รอบๆ ไม้เอาไว้ จากนั้นเย็บใบไม้เป็นกรวยคอบไว้ตลอดคืนบอกกล่าว “ผีเจ้าที่” ว่าขอมาพึ่งพาอาศัย ทำมาหากินอยู่ที่นี่ เจ้าที่จะอนุญาตหรือไม่
พอรุ่งเช้าวันใหม่ จึงไปเปิดกระทงดูปรากฏว่าข้าวที่กองไว้รอบๆไม้ถูกเขี่ยกระจัดกระจายผู้เฒ่าจึงสันนิฐานผีเจ้าที่ไม่อนุญาตให้อยู่ หากขืนอยู่ต่อไปก็จะเกิดเจ็บไข้ได้ป่วยและล้มตายตามความเชื่อเรื่องผีเข็ด
ดังนั้นจึงย้ายหมู่บ้านอยู่ทิศใต้ของกุด (แอ่งน้ำ) คือที่ตั้งหมู่บ้านในปัจจุบันเปลี่ยนชื่อหมู่บ้าน “ตูมหวาน” พอมีคนตามมาอยู่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงได้ร่วมกันถางที่สร้างวัดขึ้นแห่งหนึ่งทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหมู่บ้าน (ปัจจุบันพื้นที่แห่งนี้ถูกบุกรุกเป็นที่นาหมดแล้ว) บ้านกุดตูมหวาน ได้แบ่งเขตการปกครองออกเป็นคุ้ม มีคุ้มกุดตูมหวาน คุ้มหนองอิด่อน คุ้มดอนปาติ้ว คุ้มโนนป่าแดง คุ้มนาเหงี่ยงโง้ง และคุ้มโนนกกบก ต่อมาทางราชการได้ประกาศจัดตั้งหมู่บ้านเพื่อแบ่งเขตการปกครอง บ้านกุดตูมหวานจึงเปลี่ยนชื่อเป็น “บ้านตูมหวาน” คัดคำว่ากุด ออก เนื่องจากกุดดังกล่าว ภายหลังถูกบุกรุกจับจองกลายเป็นที่นาหมดแล้ว เดิมบ้านกุดตูมหวานขึ้นกับตำบลบ้านค้อ ต่อมาจึงได้ขึ้นกับตำบลโพนงาม จนถึงปัจจุบันจากการสืบค้น พอเชื่อได้ว่าเหตุที่ตั้งชื่อหมู่บ้านว่าบ้านตูมหวานนั้น ตั้งชื่อตามต้นมะตูมหวานที่ขึ้นอยู่ทั่วไปรอบๆกุด (ปัจจุบันเป็นต้นมะตูมหวานสูญพันธุ์หมดแล้ว)
ประวัติความเป็นมาบ้านดอนป่าแคน
ความเป็นมาของหมู่บ้านดอนป่าแคน เดิมแยกมาจากหมู่บ้านตูมหวาน เมื่อ พ.ศ. 2457เป็นเวลา 85 ปีมาแล้ว เมื่อก่อนพื้นที่แถบนี้เป็นไม้แคน (ตะเคียน) และไม้นานาชนิด อุดมสมบรูณ์ไปด้วยป่าไม้และสัตว์ป่ามากมายสภาพพื้นที่เป็นที่ดอน จึงได้ขนานนามว่าบ้านดอนป่าแคน ผู้ก่อตั้งหมู่บ้านคนแรก คือ นาย สิม คนตรง และต่อมาเมื่อทางราชการได้ประกาศเป็นหมู่บ้าน นาย สิม คนตรง ก็ได้รับเลือกตั้งให้เป็นผู้ใหญ่บ้าน นับว่าเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้านแห่งนี้ และต่อมาได้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านขึ้นมาอีก 4 คนคือ
1. นาย สิม คนตรง
2. นาย ใคร ปัทวงศ์
3. นาย ทา สีดา
4. นาย ชวน คนตรง
อาณาเขต
ที่ตั้งของหมู่บ้านอยู่ใกล้เทือกเขาภูพานอยู่ห่างจากภูเขาประมาณ 500 เมตร
ทิศเหนือ จด เทือกเขาภูพาน
ทิศใต้ จด บ้านตูมหวาน
ทิศตะวันออก จด บ้านโพนงาม
ทิศตะวันตก จด เทือกเขาภูพาน
การคมนาคม
สะดวกสบาย มีถนน รพช. เชื่อมเข้ามายังหมู่บ้านเป็นถนนลาดยางและลูกรังเป็นบางตอน อยู่ห่างจากอำเภอคำชะอี 13 กิโลเมตร อยู่ห่างจากจังหวัดมุกดาหาร 47 กิโลเมตร
การแบ่งเขตการปกครอง
แบ่งการปกครองออกเป็น ๑๐ หมู่บ้าน มีประชากรทั้งสิ้น ๕,๒๙๙ คน ดังนี้
กำนันตำบลโพนงาม นายประมวล สุขรี่
หมู่ |
ชื่อบ้าน |
ประชากร |
ชื่อผู้ใหญ่บ้าน |
|
ชาย |
หญิง |
|||
หมู่ที่ ๑ |
บ้านโพนงาม |
/ |
นายนลิน ศรีเฉลียว |
|
หมู่ที่ ๒ |
บ้านโพนงาม |
/ |
นายประมวล สุขรี่ |
|
หมู่ที่ ๓ |
บ้านตูมหวาน |
/ |
นายธนากร สีดา |
|
หมู่ที่ ๔ |
บ้านดอนป่าแคน |
/ |
นายเสนอ ศรีสร้อย |
|
หมู่ที่ ๕ |
บ้านโนนป่าแดง |
/ |
นางนุ่น สุขรี่ |
|
หมู่ที่ ๖ |
บ้านหนองสระพัง |
/ |
นายวิรุศ รูปใส |
|
หมู่ที่ ๗ |
บ้านแฝก |
/ |
นายสมรัก โสดา |
|
หมู่ที่ ๘ |
บ้านนาดอกไม้ |
/ |
นายหวัน คนคล่อง |
|
หมู่ที่ ๙ |
บ้านหนองสระพัง |
/ |
นายชอบธรรม รูปธรรม |
|
หมู่ที่ ๑๐ |
บ้านแฝก |
/ |
นายสันติ สุพร |
ศาสนสถาน
ที่ |
ประเภท |
ชื่อศาสนสถาน |
ชื่อเจ้าอาวาส / สำนักสงฆ์ |
|
วัด |
สำนักสงฆ์ |
|||
๑. |
/ |
วัดวัมมิกาวาส บ้านโพนงาม หมู่ ๒ |
-ว่าง |
|
๒. |
/ |
วัดศรีโพธิ์ทอง บ้านตูมหวาน หมู่ ๓ |
พระอธิการเดื่อ |
|
๓. |
/ |
วัดสามัคคีธรรม บ้านดอนป่าแคน หมู่ ๔ |
พระอธิการจรัส อัคฺคปัญฺโญ |
|
๔. |
/ |
วัดศรีจอมมณี บ้านแฝก หมู่ ๗ |
พระอธิการชู ยติโก |
|
๕. |
/ |
สังฆสถานป่าช้าโพนงาม บ้านโพนงาม หมู่ ๑ |
พระมหาบุญนาค |
|
๖. |
/ |
วัดศรีสว่างอารมณ์ บ้านหนองสระพังทอง หมู่ ๙ |
พระอธิการมงคล นิพฺภโย |
อาณาเขต
Ä ทิศเหนือ จดเขตตำบลหนองแคน อำเภอดงหลวง
Ä ทิศตะวันออก จดเขตตำบลผึ่งแดดและตำบลดงมอน อำเภอเมืองมุกดาหาร
Ä ทิศใต้ จดเขตตำบลบ้านค้อ อำเภอคำชะอี
Ä ทิศตะวันตก จดเขตตำบลบ้านค้อ และเขตอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
ลักษณะภูมิประเทศ
มีพื้นที่ทั้งหมด ๓๕,๙๓๓ ไร่ หรือ ๕๗.๔๙๒๘ ตารางกิโลเมตร
- พื้นที่ ทำการเกษตร ๓,๑๐๘๔ ไร่ ร้อยละ ๘๖.๕๑
การปกครองส่วนท้องถิ่น
เป็นองค์การบริหารส่วนตำบล / เทศบาลตำบล
นายธนพล พลหาญ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
นายกองค์การบริหารส่วนตำบล นายทองฝ่าย สุขรี่
รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ชื่อ นายทองพันธ์ สุขรี่
รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ชื่อ นางเทือน รูปคม
เลขานุการองค์การบริหารส่วนตำบล ชื่อ ร้อยตรีสมบูรณ์ อาคะพงษ์
ประธานสภา ชื่อ............................ว่าง..........................
สภาพทางเศรษฐกิจ
๑. อาชีพทางการเกษตร ตำบลโพนงาม มีพื้นที่เกษตรทั้งสิ้น ๓๑,๐๘๔ ไร่ ครอบครัวการเกษตร ๑,๒๘๕ ครอบครัว สภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจ ที่สำคัญ ๆ จำแนกได้ ดังนี้
พืชเศรษฐกิจ |
พื้นที่เพาะปลูก |
ผลผลิตเฉลี่ย |
จำนวนครัวเรือน |
ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย อื่น ๆ…… |
๙,๗๗๓ ๓,๘๔๑ ๓๔๘ ๑,๓๙๙ |
900 ๓,๐๐๐ - - |
๑,๒๘๕ ๓๘๒ - - |
กลุ่มอาชีพ หรือสถานประกอบการ
ที่ |
ชื่อกลุ่ม |
สมาชิก (คน) |
ที่ตั้ง |
ชื่อประธานกลุ่ม |
๑. |
อาชีพการเย็บเสื้อด้วยมือ |
๒๐ |
๑๒๒ หมู่ ๑ ตำบลโพนงาม |
นางสุทิน คนหาญ |
๒. |
โรงงาน.... |
- |
||
๓. |
อาชีพ...... |
- |
แหล่งท่องเที่ยว
ที่ |
ชื่อ |
ที่ตั้ง |
๑. |
แหล่งท่องเที่ยวภูธง |
บ้านตูมหวาน หมู่ ๓ ต.โพนงาม อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร |
ประวัติภูธง
ภูธงเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาภูพาน มียอดสูงกว่ายอดอื่นๆ ในบริเวณใกล้กัน เช่น ภูตูม ภูหวาย ภูโหล่น ภูผักหวาน มีอาณาเขตล้อมรอบ ดังนี้ทิศเหนือติดกับแนวภูโหล่น ภูศาลา ไปจนถึงภูไก่เขี่ยในเขตอำเภอดงหลวง ทิศใต้ติดกับเชิงเขาแม่นางม่อนหรือภูผาซาน ทิศตะวันออกเป็นที่ราบเชิงเขาและทุ่งนาสามารถมองเห็นทิวเขาที่ฝั่งประเทศลาว(สะหวันเขต) ทิศตะวันตกติดกับภูวัดภูหวานตลอดแนว มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 400 เมตร ห่างจากหมู่บ้าน 4 กิโลเมตรภูธงตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของบ้านนาดอกไม้ หมู่8 ต.โพนงาม อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร ทางขึ้นภูธงเริ่มจากสถานีอนามัยโนนป่าแดง ภูธงมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า ในสมัยหลังจากเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว พระภิกษุสามเณรและชาวบ้านจะพากันขึ้นไปบนภูเพื่อเกี่ยวหญ้าคานำมุงกุฏิศาลาในวัด ต้องนอนพักแรมอยู่ที่ลานหญ้าบนภูหลายคืน เมื่อเกี่ยวหญ้าพอแล้วก่อนจะลงจากภูจะเอาผ้าอาบน้ำผูกกับต้นไม้ทำเป็นธงนำขึ้นไปมัดไว้บนต้นไม้บนยอดภู เพื่อแจ้งให้ชาวบ้านรู้ว่าการเกี่ยวหญ้าเสร็จสิ้นแล้ว ให้ชาวบ้านไปช่วยแบกหาบลงมาเพื่อมุงหลังคาวัดต่อไป ผ้าที่ผูกไว้จะโบกสะบัดอยู่บนภูมองเห็นได้จากที่โล่ง ทำให้ทุกปีชาวบ้านจะรอดูว่าเมื่อใดที่มีธงผ้าปรากฏบนยอดภูเขาเป็นที่รู้กันว่าจะต้องไปช่วยกันหาบหญ้าคาลงมาจากภูเป็นการทำบุญอีกอย่างหนึ่งของชาวบ้านในท้องถิ่นนั้น ต่อมาคนในหมู่บ้านแถบนั้นจึงเรียกยอดภูลูกนั้นว่า”ภูธง” มาจนถึงทุกวันนี้ ภูธงเป็นภูเขาที่สูงชัน ล้อมรอบด้วยป่าไม้นานาพันธุ์ ทางขึ้นเป็นชั้นๆ ทางขึ้นเป็นชัน มีกอไผ่รอก ไผ่ไล่ ไผ่บง ขึ้นเป็นหย่อม ส่วนใหญ่จะเป็นป่าไม้เบญจพรรณ เช่น ประดู่แดงเต็งรัง สองข้างทางจะมีโขดหินและหน้าผาตลอดทาง บรรยากาศร่มรื่น เงียบสงบเย็นสบายน่าพักผ่อนเป็นอย่างยิ่ง
จุดเด่นของภูธง
1. เป็นแหล่งท่องเที่ยว
บนยอดเขาของภูธง มีจุดชมวิวที่ดูได้ทั้งแปดทิศถ้ายืนอยู่บนหน้าผามองไปทางทิศตะวันออกจะเห็นทุ่งนาสลับกับหมู่บ้านสามารถมองเห็นภูมิประเทศของจังหวัดมุกดาหารและแนวภูเขาลิบๆที่มีเหลี่ยมเขาที่สลับซับซ้อนน่าประทับใจ มองไปทางทิศตะวันตกจะเป็นแนวเขาและป่าไม้เขียวสดเหมือนทะเลป่าไม้น่าตื่นตาตื่นใจ ถ้ามองไปทางทิศใต้จะเห็นหลังคาครอบครัวชาวบ้านในชนบทเป็นหย่อมๆทอดยาวไปจนถึงอำเภอคำชะอี ถ้าเป็นฤดูฝนที่ทัศนวิสัยดีไม่มีหมอกควันจะสามารถมองเห็นยอดเจดีย์ผาน้ำย้อยจังหวัดร้อยเอ็ดได้ลิบๆ ป่าไม้ที่เขียวสดโขดหินที่เรียงราย เหลี่ยมเขาที่ยาวไกลเป็นทิวทัศน์ที่สวยงามมาก ภูมิทัศน์โดยรอบเต็มไปด้วยศิลปะจากธรรมชาติ เหมาะกับมุมกล้องเพื่อเป็นฉากถ่ายภาพได้ทุกทิศทาง
2. เป็นที่แสวงบุญ
ปัจจุบันยอดภูธง กำลังก่อสร้างศาสนสถานที่วิจิตรสวยงาม เป็นมณฑลขนาดกว้าง 26 เมตร ยาว 26 เมตร สูง 31เมตรเป็นสถาปัตยกรรมแบบอีสานร่วมสมัยใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 10 ล้านบาท โดยได้รับงบประมาณจากผู้มีจิตศรัทธาของคณะกฐินและผ้าป่าจากกรุงเทพฯ ที่นำมาทอดถวายทุกปี และได้รับแรงงานจากพุทธศาสนิกชนจากชาวบ้านในหมู่บ้านใกล้เคียงด้วยความศรัทธาในมณฑลชั้นล่างบรรจุรอยพระพุทธบาท 4 รอยที่แกะสลักจากหินแกรนิตนับมูลค่ามหาศาล ชั้นบนบรรจุสารีริกธาตุ(กระดูกพระอรหันต์) ที่นำมาจากประเทศศรีลังกา ควรแก่การกราบไหว้เคารพบูชาอย่างยิ่ง ทางขึ้นองค์มณฑลมีพระสังทัจจายให้กราบไหว้ขอพร ซึ่งเชื่อว่าผู้ที่ได้กราบไหว้บูชาแล้วจะมีโชคลาภตลอดไปรอบนอกองค์มณฑล เป็นลานคอนกรีตโดยรอบทั้งสี่ด้านมีบันไดนาคขึ้นลงทั้งสี่ทิศใช้เป็นที่นั่งวิปัสสนากรรมมัฎฐานและประกอบพิธีทางศาสนาซึ่งในทุกปีจะมีพุทธศาสนิกชน บวชชี พราหมณ์ร่วมสวดมนต์ไหว้พระตลอดคืนอยู่เสมอ
ประวัติการสร้างพระพุทธบาทภูธง
1. เพื่อเป็นการอโลงพระพุทธบาท ให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป
2. เพื่อเป็นแหล่องแสวงบุญขิงชาวพุทธทั่วไป
3. เพื่อเป็นสถานมี่ปฏิบัติธรรม ของพุทธศาสนิกชน
4. เพื่อเป็นแหล่องท่องเที่ยวทางธรรมชาติของบุคลทั่วไป
5. เพื่อเป็นศูนย์กลางอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่าอื่นๆ
ในบริเวณป่าชุมชนภูธง มีที่อยู่ของพ่อลูกคู่หนึ่งดำรงชีวิตอย่างสมถะ ไม่สนใจโลกภายนอก อาศัยอยู่ในรู จึงเรียกว่าคนรู มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างพอเพียง ได้สร้างกำแพงสูงและยาวหลายร้อยเมตรล้อมลอบที่อยู่ โดยไม่มีการใช้เครื่องจักรและไม่มีการจ้างแรงงาน เห็นแล้วเกิดความทึ่งในความพากเพียรพยายามของมนุษย์เป็นผลงานที่เกิดจากยาดเหงื่อและสองมือโดยแท้
ลานคอย หรือ ลานสาวคอย ทางขึ้นภูธง มีลานหินแห่งหนึ่งในอดีตเป็นสถานที่สาวนัดหนุ่มมาพบกัน หรือบางตำนานกล่าวว่าหญิงใดไม่มีคู่ ถ้ามานั่งในลานนี้จะได้แต่งงานในปีนั้น
หินตั้ง เป็นศิลปะของธรรมชาติ ที่ผุดโผล่ขึ้นมามองดูเป็นที่น่าอัศจรรย์เป็นฉากถ่ายภาพ ที่นักท่องเที่ยวนิยมกันมา
การศึกษา
จำนวนสถานศึกษา
ที่ |
ชื่อ |
จำนวน นร./นศ. |
จำนวนครู |
ชื่อผู้บริหารสถานศึกษา |
๑. |
กศน.อำเภอคำชะอี โดย กศน.ตำบลโพนงาม เป็นหน่วยปฏิบัติ |
๒๖๔ |
๔ คน |
นายเพียร แสวงบุญ |
๒. |
โรงเรียนบ้านตูมหวาน |
๑๕๘ |
๑๘ คน |
นายเอกราช พรหมพิบูลย์ |
๓. |
โรงเรียนบ้านโพนงาม |
๑๓๒ |
๙ คน |
นายปานไทย ภูล้นแก้ว |
๔. |
โรงเรียนบ้านแฝก |
๖๑ |
๗ |
ดร.อนัตตา ชาวนา |
๕. |
โรงเรียนบ้านหนองสระพัง |
๖๒ |
๔ |
นายสมศักดิ์ อุปัญญ์ |
๖. |
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลโพนงาม |
๑๑๐ |
๘ |
นางสุดใจ พลคีรี (หัวหน้าศูนย์) |
การศาสนา
๑. ประชากรนับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ ๑๐๐
๒. ข้อมูลทั่วไปของ กศน.ตำบลโพนงาม
2.1 ประวัติความเป็นมา
การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2542-2561) ได้ให้ความสำคัญเรื่องการศึกษาและการเรียนรู้ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาและการเรียนรู้ของคนไทย เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารจัดการเพื่อให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีคุณภาพ ให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ “คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ”กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้มีโยบายให้มีการจัดตั้ง กศน.ตำบล ขึ้นเพื่อให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบล เป็นแหล่งเรียนรู้ สำหรับประชาชนเพื่อประชาชนได้ใช้ในการแสวงหาความรู้เพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้
กศน.ตำบลโพนงามได้รับการประกาศจัดตั้งให้เป็น กศน.ตำบล เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552 โดยได้รับการสนับสนุน จากองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม ให้ใช้อาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหลังเก่าเป็นที่ทำการและมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2553 โดยมี นายสุจิล มาตราช ตำแหน่งครูศูนย์การเรียนชุมชน และนางสาวรัตนพร เพ็งศรีโคตร ตำแหน่งครูศูนย์การเรียนชุมชน เป็นครูประจำ กศน.ตำบลโพนงามในขณะนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2553 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ได้มีคำสั่งแต่งตั้ง ให้นายสุจิล มาตราช ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบล ไปประจำ กศน.ตำบลโพนงามและปัจจุบัน นางนิภาภรณ์ ดิสิงห์ หัวหน้า กศน.ตำบลโพนงาม
ทำเนียบ หัวหน้าครู กศน.ตำบลโพนงาม
1.นางสาวรัตนพร เพ็งศรีโคตร
2.นายสุจิล มาตราช
3.นางนิภาภรณ์ ดิสิงห์ปี 2555 – ปัจจุบัน
บุคลากรของ กศน.ตำบลโพนงาม
1.นางนิภาภรณ์ ดิสิงห์ตำแหน่ง หัวหน้า กศน.ตำบล
2.นางสาวรัตนพร เพ็งศรีโคตรตำแหน่ง ครู กศน.ตำบล
3.นางสาวสุพัตรา คนหาญตำแหน่ง ครูศูนย์การเรียนชุมชน
4.นางสาวนันทนา สุขรี่ตำแหน่ง ครูศูนย์การเรียนชุมชน
กศน.ตำบล หมายถึง หน่วยจัดกิจกรรมการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่ตั้งอยู่ในระดับตำบล/แขวง
2.3 หลักการ
หลักการทำงาน กศน.ตำบล ยึดชุมชนเป็นฐานในการทำงานและการเรียนรู้ โดยใช้ต้นทุนของชุมชน เช่น อาคาร สถานที่แหล่งวิทยาการ ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมประเพณี มีการประสานเครือข่ายในชุมชนร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยส่งเสริม สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนในชุมชน/สังคม เข้ามีส่วนร่วมเป็นภาคีเครือข่าย ในการดำเนินการจัดกิจกรรม กศน.ตำบล ทั้งในฐานะผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา บูรณาการกระบวนการเรียนรู้ และจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต ของผู้เรียนและชุมชน มีคณะกรรมการ กศน.ตำบล เป็นคนในชุมชนให้การส่งเสริมสนับสนุน ติดตามดูแลและร่วมประเมินผลการดำเนินงาน กศน.ตำบล
2.4 วัตถุประสงค์
กศน.ตำบล จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1) เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อให้ประชาชนได้รับการศึกษาตลอดชีวิตอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
2)เพื่อสร้างและขยายภาคีเครือข่ายในการมีส่วนร่วมการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน
3)เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของภาคีเครือข่าย
4)เพื่อประสานและเชื่อมโยงการดำเนินงานจัดการศึกษาร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนและภาคประชาชน
ทำเนียบคณะกรรมการ กศน.ตำบล
ที่ |
ชื่อ - นามสกุล |
หน้าที่ |
ตำแหน่ง |
๑. |
นายสัญญา สีดา |
ประธานคณะกรรมการ |
ประธานกรรมการ |
๒. |
นายทรงพล มงคล |
รองประธานคณะกรรมการ (ชาย) |
รองประธานกรรมการ |
๓. |
นางร่วม สุขรี่ |
รองประธานคณะกรรมการ (หญิง) |
รองประธานกรรมการ |
๔. |
นายเตียง คนหาญ |
กรรมการ |
กรรมการ |
๕. |
นายวิรุศ รูปใส |
ประชาสัมพันธ์ |
ประชาสัมพันธ์ |
๖. |
นายพลอย ศรีโยหะ |
เหรัญญิก |
เหรัญญิก |
๗. |
นายสันติ สุพร |
ผู้ทรงคุณวุฒิ |
ผู้ทรงคุณวุฒิ |
๘. |
นายธนกร สีดา |
ผู้ทรงคุณวุฒิ |
ผู้ทรงคุณวุฒิ |
๙. |
นายไชโย สีดา |
กรรมการ |
กรรมการ |
๑๐. |
นายวีระ ปัญญาบุตร |
กรรมการ |
กรรมการ |
๑๑. |
นายทวีศักดิ์ ยืนยั่ง |
กรรมการ |
กรรมการ |
๑๒. |
นายสมพงษ์ สุขรี่ |
กรรมการ |
กรรมการ |
๑๓. |
นายคะนอง สุพร |
กรรมการ |
กรรมการ |
๑๔. |
นายเลื่อน คนตรง |
กรรมการ |
กรรมการ |
๑๕. |
นายกลาง คนตรง |
กรรมการ |
กรรมการ |
๑๖. |
นายคำใบ สีดา |
กรรมการ |
กรรมการ |
๑๗. |
นางพิมพ์พา บุ่งนาแซง |
กรรมการ |
กรรมการ |
๑๘. |
นายแดง รูปคม |
กรรมการ |
กรรมการ |
๑๙. |
นายปิยะ ปัญญาบุตร |
กรรมการ |
กรรมการ |
๒๐. |
นายพุทธ ศรีเฉลียว |
กรรมการ |
กรรมการ |
๒๑. |
นายสวัสดิ์ สุวรรณจิตร์ |
กรรมการ |
กรรมการ |
๒๒. |
นายสมจิตร วังคำ |
กรรมการ |
กรรมการ |
๒๓. |
นางนิภาภรณ์ ดิสิงห์ |
เลขานุการ |
เลขานุการ |
๒๔. |
นางสาวรัตนพร เพ็งศรีโคตร |
รองเลขานุการ |
รองเลขานุการ |
๒๕. |
นางสาวนันทนา สุขรี่ |
ประชาสัมพันธ์ |
ประชาสัมพันธ์ |
26. |
นางสาวสุพัตรา คนหาญ |
ผู้ช่วยเลขานุการ |
ผู้ช่วยเลขานุการ |
ทำเนียบองค์กรนักศึกษา
ที่ |
ชื่อ - นามสกุล |
ตำแหน่ง/หน้าที่ |
ที่อยู่ |
๑. |
นางฟ้าเดื่อง วังคำ |
ประธาน |
๓๒ ม.๑ บ.โพนงาม |
๒. |
นายประสิทธิ์ ทองมหา |
รองประธาน (ชาย) |
๑๓๑ ม.๓ บ.ค้อ ต.บ้านค้อ |
๓. |
นางหนูเหลี่ยม วังคำ |
รองประธาน (หญิง) |
๖๓ ม.๑ บ.โพนงาม |
๔. |
นางรัฐดาวัน คนคล่อง |
เลขานุการ |
๙๗ ม.๕ บ.โนนป่าแดง |
๕. |
นางหวานใจ วังคำ |
ผู้ช่วยเลขานุการ |
๙๔ ม.๕ บ.โนนป่าแดง |
๖. |
นางกิ่งแก้ว อุปคุณ |
ประชาสัมพันธ์ |
๖ ม.๑ บ้านโพนงาม |
๗. |
นางทองเหลี่ยม มณีฉาย |
ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์ |
๖๗ ม.๙ บ.หนองสะพัง |
๘. |
นางวิจิตรา ชนะพจน์ |
เหรัญญิก |
๘๗ ม.๙ บ.หนองสะพัง |
๙. |
นางคำผ่อน สุพร |
ผู้ช่วยเหรัญญิก |
๔๗ ม.๗ บ.แฝก |
๑๐. |
นางสาวพรชิตา พลเทพ |
กรรมการ |
๗๒ ม.๒ บ.โพนงาม |
๑๑. |
นางสุทิน คนหาญ |
กรรมการ |
๑๒๒ ม.๑ บ้านโพนงาม |
๑๒. |
นางนิภาภรณ์ ดิสิงห์ |
คณะกรรมการที่ปรึกษา |
๑๖๑ ม.๑ ต.ดงมอน อ.เมือง |
ทำเนียบอาสาสมัคร กศน. ประจำตำบล/หมู่บ้าน/ชุมชน
ที่ |
ชื่อ - นามสกุล |
ประจำหมู่บ้าน |
ที่อยู่ |
๑. |
นางวิไล สุวรรณจิตร์ |
บ้านโพนงาม หมู่ ๑ |
๗๘ ม. ๑ บ.โพนงาม |
๒. |
นายไพรวัล ผิวผ่อง |
บ้านโพนงาม หมู่ ๒ |
๑๗๐ ม. ๒ บ.โพนงาม |
๓. |
นายเกียรติศักดิ์ ตรงดี |
บ้านตูมหวาน หมู่ ๓ |
๙๔ ม.๓ บ.ตูมหวาน |
๔. |
นายธีระวุฒิ ไชยนาน |
บ้านดอนป่าแคน หมู่ ๔ |
๓ ม.๔ บ.ดอนป่าแคน |
๕. |
นางเลื่อน ใจมั่น |
บ้านโนนป่าแดง หมู่ ๕ |
๓๔ ม.๕ บ.โนนป่าแดง |
๖. |
นายพัทยา สุขรี่ |
บ้านหนองสระพัง หมู่ ๖ |
๖๘ ม.๖ บ.หนองสระพัง |
๗. |
นางรัศมี คนหาญ |
บ้านแฝก ๗ |
๘๒ ม.๗ บ.แฝก |
๘. |
นางราตรี สีดา |
บ้านนาดอกไม้ หมู่ ๘ |
๑๓๔ ม.๘ บ้านนาดอกไม้ |
๙. |
นายวรรณชัย ชนะพจน์ |
บ้านหนองสระพัง หมู่ ๙ |
๘๗ ม.๙ บ.หนองสะพัง |
๑๐. |
นายธวัชชัย สุพร |
บ้านแฝก หมู่ ๑๐ |
๑๕ ม.๑๐ บ.แฝก |
รวมทั้งสิ้น...๑๐....หมู่บ้าน จำนวน.......๑๐.........คน |
ทำเนียบวิทยากรวิชาชีพ
ที่ |
ชื่อ - นามสกุล |
จบการศึกษาจาก |
สอนวิชา |
๑. |
นางสุทิน คนหาญ |
กศน.อำเภอคำชะอี |
เสื้อเย็บมือ |
๒. |
นายพาย ปัทวงค์ |
โรงเรียนบ้านโพนงาม |
จักสาน |
๓. |
นางบัวเฮียง ตรงดี |
โรงเรียนบ้านหนองสระพัง |
ไส้กรอก |
รวมทั้งสิ้นจำนวน.......๓.........คน |