ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอคำชะอี ในฐานะสถานศึกษาที่ทำหน้าที่ในการส่งเสริมสนับสนุน และจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ได้นำนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงานของสำนักงานกศน.มาวิเคราะห์สู่การปฏิบัติในพื้นที่ตามศักยภาพและเป้าหมายในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาซึ่งในรอบระยะเวลาที่ผ่านมาบุคลากรของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอคำชะอี ได้ร่วมกันดำเนินงานตามภารกิจ เพื่อตอบสนองนโยบาย ได้ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ดังนี้
ปรัชญา “คิดเป็น”
วิสัยทัศน์ กศน.อำเภอคำชะอี เป็นสถานศึกษาที่มุ่งเน้นการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้กับผู้รับบริการในอำเภอคำชะอี “มีความรู้ คู่คุณธรรม นำอาชีพ”
อัตลักษณ์ ๓ มี “มีความรู้ มีคุณธรรม มีอาชีพ”
เอกลักษณ์ “สถานศึกษาส่งเสริมประชาธิปไตยดีเด่น”
พันธกิจ
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอคำชะอี มีหน้าที่ตามพันธกิจดังต่อไปนี้
๑. จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยการศึกษาตลอดชีวิตให้มีคุณภาพ
๒. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๓. ส่งเสริมชุมชนให้พัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
๔. จัดและส่งเสริมการนำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพต่อการศึกษาตลอดชีวิต
๕. พัฒนาบุคลากรและภาคีเครือข่ายเพื่อการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๖. จัดการเรียนรู้ด้านประชาธิปไตย ด้านคุณธรรม จริยธรรมและความเป็นไทยการสร้างภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด
ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของประชาชน
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การเพิ่มศักยภาพการจัดการความรู้ของชุมชน
กลยุทธ์
การดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้บรรลุสำเร็จตามยุทธศาสตร์การดำเนินงาน ปีงบประมาณ ๒๕๕๖ ด้านการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของประชาชน ด้านการเพิ่มศักยภาพการจัดการความรู้ของชุมชน และด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการขององค์กรและภาคีเครือข่ายให้ดำเนินการตามกลยุทธ์ดังต่อไปนี้
กลยุทธ์ที่ ๑ ลุยถึงที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
กลยุทธ์ที่ ๒ จัดกิจกรรมหลากหลายโดนใจผู้เรียน
กลยุทธ์ที่ ๓ ขยายแหล่งเรียนรู้และเทคโนโลยี
กลยุทธ์ที่ ๔ ผนึกกำลังภาคีเครือข่ายและกระจายบริการการศึกษา
กลยุทธ์ที่ ๕ พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
ค่านิยมองค์การ ของสำนักงาน กศน.
TEAMWINS
T =Teamwork การทำงานเป็นทีม หมายถึง บุคลากรมีความสามัคคี มีการประสานงาน ระดม ความคิดในการพัฒนางานร่วมกัน มีเอกภาพในการบริหารจัดการ มีทีมงานที่สามารถนำนวัตกรรมใหม่ๆมาใช้พัฒนางาน เพื่อไปสู่เป้าประสงค์ขององค์กร
E = Equality of Education ความเสมอภาคทางการศึกษา หมายถึง เป็นการให้โอกาสการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน
A = Accountability ความรับผิดชอบต่อผลสำเร็จของงานและต่อสาธารณะ หมายถึง บุคลากรมีความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่ ปฏิบัติงานด้วยความตั้งใจอย่างเต็มความสามารถ มีการตรวจสอบ ทบทวนและปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย
M = Moral and Integrity การมีศิลธรรมและมีความชื่อสัตย์ หมายถึง บุคลากรปฏิบัติ หน้าที่ด้วยความชื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ เพื่อนำพาองค์กรให้เป็นที่น่าเชื่อถือ และก้าวไปข้างหน้าอย่างภาคภูมิ
W = Willful มีความมุ่งมั่นตั้งใจทำงานอย่างเต็มศักยภาพ หมายถึง บุคลากรปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเต็มใจ เต็มเวลา และเต็มศักยภาพ เพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จขององค์กร
I = Improve Ourselves การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ หมายถึง บุคลากรแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองอยู่เสมอ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนางานในหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพ
N = Network and Community การเป็นเครือข่ายที่มีปฏิสัมพันธ์อันดีต่อกันทั้งภายในและภายนอกและองค์กร หมายถึง สร้างสัมพันธภาพที่ดีภายในองค์กรและสร้างความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายในการร่วมจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้เป็นกลไกในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
S = Service Mind การมีจิตใจพร้อมให้บริการ หมายถึง บุคลากร ให้บริการด้วยความเต็มใจยิ้มแย้มแจ่มใส มุ่งให้ผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจ
จากค่านิยมขององค์การของสำนักงาน กศน. ซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอคำชะอี ได้กำหนดให้สถานศึกษามีเอกลักษณ์ เป็น
องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) หมายถึง องค์กรที่ประกอบด้วยกลุ่มคนที่มีความมุ่งมั่นที่จะขยายขีดความสามารถของตน โดยมีการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีบรรยากาศในองค์กรที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และสามารถใช้แนวคิดการจัดการความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ที่มีคุณค่าต่อตนเอง ทีมงานและองค์กร โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้เป็นองค์กรที่มีคุณภาพและสามารถดำรงอยู่ได้ในสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๖
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับทุกประเภท โดยมุ่งเน้นเป้าหมายคือนักเรียนเป็นศูนย์กลาง
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การปฏิรูปครู เพื่อยกฐานะครูและวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพขั้นสูง
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับอาชีวศึกษา และการฝึกอาชีพให้สอดคล้องกับตลาดแรงงาน ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ ๕ การพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้การศึกษาทัดเทียมกับนานาชาติ
ยุทธศาสตร์ที่ ๖ การสนับสนุนการพัฒนาเพื่อสร้างทุนปัญญาของชาติ
ยุทธศาสตร์ที่ ๗ การเพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน