คุณอยู่ที่: Home
วันที่ 8 ตุลาคม 2561 นายถาวร พลีดี ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดมุกดาหารมอบหมายให้นายสนิท อาษาธงรองผู้อำนวยสำนักงาน กศน.จังหวัดมุกดาหาร พร้อมคณะกรรมการประเมินออกประเมินผลการปฎิบัติิงานพนังานราชการทั่วไป สังกัดสำนักงาน กศน.จังหวัดมุกดาหาร ครั้งที่ 2(1 เมษายน - 30 กันยายน2561)กศน.อำเภอคำชะอี ประกอบด้วยโซนที่ 1 ณ กศน.ตำบลคำชะอี (ตำบลคำชะอี/ตำบลคำบก/ตำบลน้ำเที่ยง/ตำบลบ้านซ่ง) โซนที่ 2ณ กศน.ตำบลหนองเอี่ยน (ตำบลหนองเอี่ยน/ตำบลเหล่าสร้างถ่อ/ตำบลบ้านเหล่า/ตำบลบ้านค้อ/ตำบลโพนงาม)
วันที่ 4-5 กันยายน 2561 กศน.อำเภอคำชะอี นำนักศึกษาเข้าร่วมแข่งขัน โครงการ "การศึกษาตลอดชีวิตคือภารกิจกศน." ครั้งที่ 1/2561 ระหว่างวันที่ 4-5 กันยายน 2561 โดย กศน.อำเภอทั้ง 7 แห่ง นำกิจกรรมส่งเสริมการอ่านมาร่วมงานฯ ยังมีการแข่งขันการปักลายเสื้อเย็บมือ การแข่งขันตำเมี่ยง การวาดภาพระบายสี การประกวดเสื้อเย็บมือ การแข่งขันกล่าวสุนทรพจน์ การประกวดโครงงานหัวข้อ (โครงงานการจัดการขยะ) การประกวดเล่าเรื่องในหัวข้อประวัติศาสตร์ชาติไทยและบุญคุณของพระมหากษัตริย์ไทย การประกวดคัดลายมือ การแข่งขันพูดภาษาอังกฤษในหัวข้อแนะนำการศึกษาตลอดชีวิตหรือแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดมุกดาหาร การแข่งขันร้องเพลงกล่อมลูกประกอบลีลา การแข่งขันงานใบตอง (การทำขันหมากเบ็ง) และการแข่งขันการตอบปัญหาทางวิชาการ 4 วิชาหลักผ่านสมาร์ทโฟน กลุ่มเป้าหมาย นักศึกษา กศน. ประชาชน และเครือข่าย จำนวน 2,700 คน ซึ้งได้รับเกียรติจากนายปานทอง สระคูพันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร เป็นประธานในพิธีพิธีเปิด โดยมีนายถาวร พลีดี ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดมุกดาหาร ประธานการจัดงานฯ เป็นผู้กล่าวรายงาน ณ สำนักงาน กศน.จังหวัดมุกดาหาร
วันที่ 21 สิงหาคม 2561 เวลา 09.00 น.นางสาวฐิติพร บุทธิจักร์ ผอ.กศน.อำเภอคำชะอี พร้อมด้วยผู้บริหาร กศน.อำเภอทั้ง 7 แห่ง และบุคลากรสำนักงาน กศน.จังหวัดมุกดาหาร ร่วมสัมมนาการดำเนินงานการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ โรงแรมตักสิลา อำเภอเมือง
จังหวัดมหาสารคาม โดยมี ดร.วิเชียรโชติ โสอุบล
ผู้อำนวยการสถาบัน กศน.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นประธานในพิธีเปิด
คำว่า “สะเต็ม” หรือ “STEM” เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษของศาสตร์ 4 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์(Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) หมายถึงองค์ความรู้ วิชาการของศาสตร์ทั้งสี่ที่มีความเชื่อมโยงกันในโลกของความเป็นจริงที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันในการดำเนินชีวิตและการทำงาน คำว่า STEM ถูกใช้ครั้งแรกโดยสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (the National Science Foundation: NSF) ซึ่งใช้คำนี้เพื่ออ้างถึงโครงการหรือโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ อย่างไรก็ตามสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ได้ให้นิยามที่ชัดเจนของคำว่า STEM มีผลให้มีการใช้และให้ความหมายของคำนี้แตกต่างกันไป (Hanover Research, 2011, p.5) เช่น มีการใช้คำว่า STEM ในการอ้างอิงถึงกลุ่มอาชีพที่มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ สะเต็มศึกษา คือ แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน 4 สหวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต และการทำงาน ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง 4 สหวิทยาการ กับชีวิตจริงและการทำงาน การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ไม่เน้นเพียงการท่องจำทฤษฎีหรือกฏทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ แต่เป็นการสร้างความเข้าใจทฤษฎีหรือกฏเหล่านั้นผ่านการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด ตั้งคำถาม แก้ปัญหาและการหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ๆ พร้อมทั้งสามารถนำข้อค้นพบนั้นไปใช้หรือบูรณาการกับชีวิตประจำวันได้การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มมีลักษณะ 5 ประการได้แก่ (1) เป็นการสอนที่เน้นการบูรณาการ (2) ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 กับชีวิตประจำวันและการทำอาชีพ (3) เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 (4) ท้าทายความคิดของนักเรียน และ (5) เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น และความเข้าใจที่สอดคล้องกับเนื้อหาทั้ง 4 วิชา จุดประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรักและเห็นคุณค่าของการเรียนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ และเห็นว่าวิชาเหล่านั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถนำมาใช้ได้ทุกวัน